กล่องลูกบาศก์ไบนอเมียว

พีชคณิต    (a + b) = ( a + 3a b + 3ab + b )

Binomial_Cube

อุปกรณ์  

  • กล่องที่ 1 กล่องซึ่งบรรจุชิ้นไม้แปดชิ้นดังนี้
    ลูกบาศก์สีแดง หนึ่งชิ้น
    ลูกบาศก์สีน้ำเงิน หนึ่งชิ้น
    แท่งปริซึมสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีน้ำเงิน-แดง สามชิ้น
    แท่งปริซึมสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีน้ำเงิน-ดำ สามชิ้น
  • กล่องที่ 2 มีชิ้นไม้แปดชิ้นเช่นเดียวกับกล่องที่หนึ่งแต่ทุกชิ้นเป็นสีไม้ ไม่มีสีเป็นรหัส

จุดประสงค์  

  • เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ในการแบ่งลูกบาศก์ออกเป็นหน่วยย่อยต่างๆกับสื่ออุปกรณ์ที่เป็นรูปธรรม
  • เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการเรียนพีชคณิตในอนาคต
  • เพื่อให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการสร้างลูกบาศก์

กลไกควบคุมความผิดพลาด

  • สำหรับกล่องที่ 1 รหัสสีจะเป็นตัวควบคุมความผิดพลาด
  • สำหรับกล่องที่ 2 จะไม่สามารถสร้างลูกบาศก์ได้ถ้าวางเรียงชิ้นไม้ไม่ถูกต้อง

คำศัพท์ที่ได้

                ลูกบาศก์ไบนอเมียว

ระดับอายุ  

                4 ½ ปี ขึ้นไป

ข้อเสนอแนะ

               ครูหยิบชิ้นไม้ออกมาเรียง โดยวางชิ้นไม้ที่ต่างกันให้อยู่อย่างละแถวส่วนที่เหมือนกันให้วางเรียงต่อกันไว้ด้านหลัง ควรจะดึงความสนใจเด็กไปสู่ข้อเท็จจริงที่ว่าชิ้นไม้ที่อยู่ชั้นเดียวกันจะมีความสูงเท่ากัน ควรจัดเรียงไว้กลุ่มเดียวกัน จากนั้นครูก็เริ่มสร้างลูกบาศก์ช้าๆโดยเริ่มจากวางชิ้นไม้สีแดงไว้ที่มุมซ้ายของกล่อง ใช้มือลูบสัมผัสด้านข้างด้านหนึ่งของชิ้นไม้สีแดงแล้วหาชิ้นไม้ที่มีขนาดพอดีกับด้านนั้นจากชิ้นไม้กลุ่มเดียวกันซึ่งสีจะเป็นสีแดงเหมือนกัน ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนต่อกันเป็นรูปลูกบาศก์ แล้วชักชวนให้เด็กลองทำสีจะเป็นตัวช่วยนำ ในการต่อรูปลูกบาศก์จะเริ่มจากชั้นล่าง จากสีน้ำเงินหรือสีแดงก่อนก็ได้

แบบฝึกหัดที่ 1     

               เด็กทำกิจกรรมเช่นเดียวกับที่ได้รับการแนะนำโดยใช้กล่องที่ 1

แบบอื่นๆ         

              เด็กทำกิจกรรมเช่นเดียวกับแบบฝึกหัดที่หนึ่ง แต่ใช้กล่องที่สอง ซึ่งไม่มีสีเป็นตัวกำหนด

 หมายเหตุ:

  • สำหรับในระดับของประสาทสัมผัสนี้เด็กจะยังไม่ได้รับการแนะนำให้รู้จักสูตรพีชคณิต ซึ่งจะได้รับการสอนในระดับประถมศึกษา
  • สำหรับเด็กที่ครูเห็นว่าอุปกรณ์นี้ยากเกินไป อาจต้องใช้บัตรสำหรับวางชิ้นไม้เป็นตัวช่วยอีกอย่าง